วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศัพท์เด็กแนว ภาษาวัยรุ่น

1.โอ้ว! จอร์จ มันยอดมาก     แปลว่า เจ๋งมาก เจ๋งโคตรๆ

2.จิ๊บ       แปลว่า เป็นอาการดีอกดีใจกระดี้กระด้าเมื่อเจอหนุ่มหล่อวัยใสเอ๊าะๆ

3.มาแว้ว   แปลว่า มาแล้วจ้า

4.วันนี้โปร่ง   แปลว่า วันนี้ไม่หนีบแฟนมาด้วย

5.พกข้าวห่อ   แปลว่า ไปต่างจังหวัดหรือไปเที่ยวไกลๆ แล้วเอาแฟนไปด้วย

6.เฟิร์มนะ   แปลว่า ตกลงแน่นอนตามนั้นใช่ไหม

7.กิ๊ก   แปลว่า มากกว่าเพื่อนแต่ไม่ใช่คนรัก

8.ซะงั้น   แปลว่า ทำได้ไง ทำแบบนั้นเฉยเลย

9.วิ่นวือ   แปลว่า วุ่นวายสุดๆ

10.***น  แปลว่า สวยมาก

11.นอย   แปลว่า หวาดระแวง กังวล (มาจากพารานอย)

12.***สุย   แปลว่า หนุ่มที่แต่งตัวเห่ยมากไม่เข้ากับเวลาและสถานที่

13.จีว่า    แปลว่า แต่งตัวเว่อร์ หรือแสดงแอ็กชั่นเว่อร์มาก

14.เกิร์ป  แปลว่า โง่เหมือนกระบือ

15.จูบู้  แปลว่า สาวที่แต่งตัวเซ็กซี่สุดยอด

16.เด้ง
แปลว่า ใสมาก ขาวมากเด่นมาก

17.ชิว-ชิว   แปลว่า เล็กๆ จิ๊บๆ

18.เยก   แปลว่า ขี้เหร่ อุบาทว์ น่าเกลียด

19.ตู้  แปลว่า เด็กเรียน

20.โอ  แปลว่า โอเค ตกลง

21.ปู๊  แปลว่า แฟน

22.สิว-สิว  แปลว่า เรื่องขี้ผง เรื่องเล็กๆ ง่ายมาก

23.ป๊อก  แปลว่า งีบหลับ

24.ขี้เม้ง  แปลว่า ชอบวีน ชอบโวยวาย

25.เนียน  แปลว่า ทำได้กลมกลืน ทำแนบเนียนดีมาก

26.วีนแตก  แปลว่า ชอบอาละวาด ชอบโวยวาย

27.อิม  แปลว่า เป็นไปไม่ได้ (มาจากimpossible)

28.ซึม  แปลว่า พวกชอบทำไม่รู้ไม่ชี้ แต่ที่แท้ตัวดีเลยแหละ

29.ป๊อด  แปลว่า ปอดแหก

30.เซี๊ยะ  แปลว่า ยุแหย่

อัพเดทศัพท์วัยรุ่น เยอะจุงเบย

ศัพท์วัยรุ่น

      ราชบัณฑิตยสถาน จัดหนัก อัพเดทศัพท์วัยรุ่น กว่าพันคำ ลง พจนานุกรมคำใหม่เล่ม 4 ออกเผยแพร่ปลายปี ไม่ว่าจะเป็น ศัพท์ใหม่  ศัพท์วัยรุ่น ที่ทันยุคสมัย คำสแลง เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลคำใหม่ต่างๆ และบันทึกคำเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานแสดงการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของคำที่ใช้ในสังคมไทย 
ซึ่งวัยรุ่นไทยอย่างเราก็ไม่รู้หรอกว่าเคยพูดเคยใช้ กันมั้งหรึเปล่า! แต่ ราชบัณฑิตยสถาน บอกว่ามี ศัพท์วัยรุ่น กว่า 1พันคำ (โห้เยอะจุงเบย ^^) เอาละเรามาดูกันคะว่า ศัพท์ใหม่ ศัพท์วัยรุ่น ที่ ราชบัณฑิตยสถาน จัดแจงรวบรวมกว่าพันคำมีอะไรบ้าง ?
     ตัวอย่างคำและความหมายของ ศัพท์วัยรุ่น บางส่วน บางคำ
กรรมสะสมไมล์ - เป็นการเปรียบเทียบคนที่ชอบทำบาปกรรมว่าเป็นการสะสมไมล์ เหมือนที่สายการบินให้ลูกค้าสะสมไมล์เมื่อเดินทาง
กระบือบำบัด - คำนี้มาจากโครงการใช้ควายบำบัดเด็กออทิสติกจนประสบความสำเร็จ
กองร้อยน้ำหวาน – ตำรวจจราจรหญิงในยุคบุกเบิก เป็นกองกำลังหนึ่งของกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน กองบัญชาการ ตำรวจนครบาล
กอดเสาเข่าทรุด - เกิดขึ้นจากเหตุการณ์อุทกภัยช่วงปลายปีที่ผ่านมาหลังจากประชาชนกลับเข้าไปบ้านเมื่อเห็นสภาพความเสียหายมากมายถึงขั้นเกิดอาการกอดเสาเข่าทรุด
กากๆ – คำศัพท์ที่วัยรุ่นนิยมใช้ในอินเตอร์เน็ต โดยเป็นการดูถูกว่าเป็นคนที่ทำตัวไม่ค่อยมีประโยชน์
กิจกาม – เป็นคำที่ใช้เลียนแบบคำว่า กิจกรรม ซึ่งแทนที่จะไปทำกิจกรรมต่างๆ ก็มุ่งไปเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเดียว
กินตับ – มีความหมายมาจากเพลงกินตับ (หรออ!)
กินอิ่มนอนอุ่น – แทนที่วัยรุ่นจะพูดว่ากินอิ่มนอนหลับ เพื่อความเท่และทันสมัยก็จะพูดคำดังกล่าว
เกรียน – เป็นคำสแลงของคนที่มีพฤติกรรมก่อกวนคนอื่นและก้าวร้าวทางคำพูด
ขนแขน สแตนอั้ป – พูดเมื่อเวลาเจอเรื่องน่าตื่นเต้น
ขออภัยมณีศรีสุวรรณ – แทนที่จะพูดว่าขออภัยคำเดียว ก็จะเติมสร้อยให้ดูทันสมัย
ครูตู้ – คือทีวีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
จอนูน /จอแบน – เป็นการพูดถึงลักษณะของผู้หญิง (ลักษณะอะไรคะ?)
จัดชุดใหญ่/จัดเต็ม/จัดแน่น/จัดหนัก/จัดใหญ่ – เป็นคำที่ใช้พูดในสถานการณ์ที่ต้องการทำอะไรบางอย่างแบบเต็มที่

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภาษาไทยกับวัยรุ่นไทย


            สังคมเราในปัจจุบันนี้โลกเราได้มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างมากในชีวิตของคนไทยเรา ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันรวมทั้งการสื่อสารด้วย ซึ่งในประเทศไทยนี้เยาวชนยุคใหม่บางส่วนได้นำค่านิยมผิด ๆ มาใช้กัน นั้นก็คือการใช้ภาษาไทยที่ผิด โดยเยาวชนกลุ่มนั้นคิดว่าเมื่อใช้แล้วมันเก๋ดี มันเท่ห์ดี แต่หารู้ไม่ว่าอาจจะทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและทำให้เยาวชนยุคหลังๆใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องตามไปด้วย ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเองแสดงออกถึงความเป็นเอกราชและความภาคภูมิใจของคนไทยเรา ภาษาไทยเป็นมรดกของคนไทยมายาวนาน แต่เยาวชนยุคบางส่วนใหม่กลับไม่รู้คุณค่าของมันเลย
         การใช้ภาษาไทยที่ผิด ๆ ของวัยรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลงไปจริง ๆ ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารกันทาง msn เช่นคำว่า ทามอะไรอยู่-ทำอะไรอยู่ เปนอะไร-เป็นอะไร เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว และดูเก๋ด้วย แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญขนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป เป็นเสมือนการสร้างคำ สร้างภาษให้มีการวิบัติมากขึ้น การใช้คำใช้ภาษาไปผิดๆ ทำให้เป็นการฝึกนิสัยในการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา และฉันกลาพูดได้เลยว่าวัยรุ่นไทยสมัยนี้เขียนคำ สะกดคำในภาษาไทย ได้ไม่ถูกตามตัวสะกด และเขียนภาษาไทยได้ไม่ถูกต้องตามหลักภาษา พูดไม่ถูกอักขระ ไม่มีคำควบกล้ำ บางคนพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนด้วยซ้ำ


วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศัพท์ฮอตฮิต "ขาโจ๋" รู้ไว้จะได้ไม่ตกเทรนด์


  วัยรุ่นถือเป็นวัยแห่งสีสัน ต้องการอิสระ ต้องการการยอมรับในสังคม ต้องการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนเสื้อผ้าหน้าผมของพวกเขาจึงมีความเป็นเฉพาะกลุ่ม ชนิดที่บางครั้งผู้ใหญ่มองแล้วต้องเบือนหน้าหนีด้วยความรับไม่ได้  แต่นอกเหนือจากการแสดงตัวตนผ่านเสื้อผ้าหน้าผมแล้ว ภาษาก็ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่วัยรุ่นใช้แสดงออกถึงตัวตนของพวกเขา  หลาย ๆ คำอาจฟังดูแปลก ๆ คนนอกกลุ่มหรือผู้ใหญ่ ได้แต่ทำหน้าสงสัย เพราะไม่เข้าใจความหมาย 


เพื่อลดความสงสัยของคนนอกกลุ่ม มติชนออนไลน์ ได้รวบรวมเอาคำศัพท์ฮิต ๆ ส่วนหนึ่ง พร้อมความหมาย ของกลุ่มวัยรุ่นมาไว้ที่นี่แล้ว


จิ้น  จินตนาการ ค่อนไปในทางชู้สาว เช่น "ฉันเห็น แมน กับ ต้น จับมือกันอะ เห็นแล้วจิ้นไปไกลเลยอะ"  

ฟิน = เป็นอารมณ์ที่เห็นอะไรที่มัน “สุดยอด” เป็นอารมณ์สุดขีดในตอนนั้น

ปลวก = พวกอยู่ไม่นิ่ง ชอบเรียกร้องความสนใจให้ตัวเอง  เหมือนปลวกที่ชอบสร้างรังตลอดเวลา และอาจรวมไปถึงพวกชอบจิกกัดคนอื่น

ติ่ง  แฟนคลับเกาหลีที่ไม่มีเหตุผล ไม่มีมารยาท ไม่สนใจความเป็นไปของโลกนอกจากศิลปินของตัวเอง

ซึน (ซึนเดเระ) = พวกไม่พูดตรงๆ ชอบเก็บอาการ เสแสร้ง 

เหียก = น่าเกลียด ขี้เหร่มาก

ขี้เม้ง = พวกที่ชอบวีน ขี้โวยวาย ด่าเก่ง ปากจัด หน้าตาบูดบึ้ง

อิม = มาจาก impossible หมายถึง พวกเด็กเรียน คือสามารถทำเรื่อง (เรียน) ที่ยาก ๆ ที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้

อีนี่หลายอย่าง = คนคนนี้เป็นทั้งผู้ชาย เกย์ กะเทย แต๋ว และตุ๊ด

อบกบ = ไม่ หล่อ

เกิร์ป = โง่ แบบ ควาย

ซับโบร๋ = หวัดดี

หน้าเงือก = น่าตาไม่ดี

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความหมาย ภาษาวัยรุ่น


ความหมาย  ภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาที่วิบัติมาจากการใช้ภาษาของกลุ่มวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการสนทนา เขียนหนังสือ ส่งข้อความ สนทนาผ่านอินเตอร์เน็ท หรือที่เรียกกันว่าการ Chat โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คำบางคำสั้นลง หรือเพื่อเพิ่มเติม เสริมแต่งให้คำที่พวกเขาใช้กันดูมีความเก่ไก๋ ไฮโซ แนว ซึ่งภาษาเหล่านี้เกิดมาจากการตั้งขึ้นมาเองใหม่ หรือการผสมผสานคำเองระหว่างภาษาต่างๆ ฟังแล้วไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่รู้เรื่องกัน ไม่รู้คิดได้ไง
คิดว่าภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาที่ไม่สิ้นสุด เพราะวัยรุ่นจะคิดคำแปลกๆใหม่ๆมาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน จนบางครั้งผู้ฟังที่เพิ่งได้ยินอาจจะไม่เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริง เช่นคำว่า ฉัน"โต๊ะ"เธอ ก็หมายถึง ฉันรักเธอ นอกจากนั้นวัยรุ่นมักจะใช้ภาษาที่เป็นคำผวนมาพูดกัน เช่น" รูเยิ๊บ" หมายถึง "เลิฟยู" หรือฉันรักคุณนั่นเอง
ภาษาที่พูดแล้วมันไม่มีคำแปลน่ะ แต่ดันเข้าใจกันเอง ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตอนไอ้พวกนี้เกิดพ่อแม่กสอนภาษาไทยให้พูดกันรู้เรื่องดีดี ทำไมไม่ค่อยจำมาใช้กันนะ แหกคอกกันอยู่ได้ ถ้าไม่พูดอะไรที่มันแปลกๆ แล้วมันจะเข้าสังคมไม่ได้น่ะ
ก็ในหมู่เพื่อนๆของเราเนี่ย เวลาเค้าจะด่ากันว่า อีดอก เค้าจะบอกว่า อีทิวลิป ชื่อดอกไม้ไง
เป็นภาษาที่ใช้แล้วสนุกเป็นกันเองในหมู่คณะแต่ก็ควรที่จะใช้ให้ถูกสถานที่ที่จะใช้

ภาษาไทยกับวัยรุ่น

                ภาษาไทยเป็นรูปแบบการสื่อสารที่สำคัญของคนไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องจึงเป็น
สิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารบอกความต้องการ ความรู้สึกของเราได้ และภาษาไทยถือเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงได้ประดิษฐ์อักษรไทย
ให้คนไทยได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
                ในปัจจุบันโลกของเราได้มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการสื่อสาร วัยรุ่นในประเทศไทยยุคใหม่บางกลุ่มได้สร้างค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้
คือ การใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคำเดิม จึงทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลังๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง
                วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการสื่อสารด้วยคำที่ทันสมัย มีความหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มและช่วงวัย วัยรุ่นจึงขาดความคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะ เช่น การพูดกับผู้ใหญ่ พูดในที่สาธารณะที่มิใช่เฉพาะกลุ่มของตน หรือการพูดติดต่อที่เป็นทางการ ควรใช้ถ้อยคำที่ไพเราะและใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีในอนาคต
                การใช้ภาษาไทยที่ผิดๆ ของวัยรุ่นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลง ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คำว่า “ทามอะไรอยู่ (ทำอะไรอยู่) เปนอะไร (เป็นอะไร)” เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทยหนึ่งคำสามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือนๆ กัน มีสระที่เสียงคล้ายๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไปจากเดิม ทำให้ความเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทยที่มีความซับซ้อนและทำให้วัยรุ่นนิยมใช้ภาษาไทยที่มีความหมายละเอียดและกว้างจากความหมายเดิมมีมากขึ้น
                ภาษาไทยจึงถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศไทย ถึงแม้จะเป็นไปตามกระแส
ทางวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต แต่การช่วยกันอนุรักษ์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องจะช่วยให้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติกลับมาคงความสวยงามและมีความหมายอย่างถูกต้องเหมือนในอดีต และขอทิ้งท้ายคำขวัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ดังนี้
“คนไทยยุคใหม่  ไม่ใช้ภาษาวิบัติ”