ความหมาย ภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาที่วิบัติมาจากการใช้ภาษาของกลุ่มวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการสนทนา เขียนหนังสือ ส่งข้อความ สนทนาผ่านอินเตอร์เน็ท หรือที่เรียกกันว่าการ Chat โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คำบางคำสั้นลง หรือเพื่อเพิ่มเติม เสริมแต่งให้คำที่พวกเขาใช้กันดูมีความเก่ไก๋ ไฮโซ แนว ซึ่งภาษาเหล่านี้เกิดมาจากการตั้งขึ้นมาเองใหม่ หรือการผสมผสานคำเองระหว่างภาษาต่างๆ ฟังแล้วไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่รู้เรื่องกัน ไม่รู้คิดได้ไง
คิดว่าภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาที่ไม่สิ้นสุด เพราะวัยรุ่นจะคิดคำแปลกๆใหม่ๆมาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน จนบางครั้งผู้ฟังที่เพิ่งได้ยินอาจจะไม่เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริง เช่นคำว่า ฉัน"โต๊ะ"เธอ ก็หมายถึง ฉันรักเธอ นอกจากนั้นวัยรุ่นมักจะใช้ภาษาที่เป็นคำผวนมาพูดกัน เช่น" รูเยิ๊บ" หมายถึง "เลิฟยู" หรือฉันรักคุณนั่นเอง
ภาษาที่พูดแล้วมันไม่มีคำแปลน่ะ แต่ดันเข้าใจกันเอง ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตอนไอ้พวกนี้เกิดพ่อแม่กสอนภาษาไทยให้พูดกันรู้เรื่องดีดี ทำไมไม่ค่อยจำมาใช้กันนะ แหกคอกกันอยู่ได้ ถ้าไม่พูดอะไรที่มันแปลกๆ แล้วมันจะเข้าสังคมไม่ได้น่ะ
ก็ในหมู่เพื่อนๆของเราเนี่ย เวลาเค้าจะด่ากันว่า อีดอก เค้าจะบอกว่า อีทิวลิป ชื่อดอกไม้ไง
เป็นภาษาที่ใช้แล้วสนุกเป็นกันเองในหมู่คณะแต่ก็ควรที่จะใช้ให้ถูกสถานที่ที่จะใช้
ภาษาไทยกับวัยรุ่น
ภาษาไทยเป็นรูปแบบการสื่อสารที่สำคัญของคนไทย การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องจึงเป็น
สิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารบอกความต้องการ ความรู้สึกของเราได้ และภาษาไทยถือเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงได้ประดิษฐ์อักษรไทย
ให้คนไทยได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
สิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารบอกความต้องการ ความรู้สึกของเราได้ และภาษาไทยถือเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงได้ประดิษฐ์อักษรไทย
ให้คนไทยได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันโลกของเราได้มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมาก ทำให้มีความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งการสื่อสาร วัยรุ่นในประเทศไทยยุคใหม่บางกลุ่มได้สร้างค่านิยมที่ผิดๆ มาใช้
คือ การใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคำเดิม จึงทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลังๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง
คือ การใช้ภาษาไทยที่ผิดจากคำเดิม จึงทำให้ภาษาไทยของเราเปลี่ยนแปลงไป เยาวชนยุคหลังๆ จึงใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง
วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการสื่อสารกันมากและมีรูปแบบการสื่อสารด้วยคำที่ทันสมัย มีความหมายเฉพาะสำหรับกลุ่มและช่วงวัย วัยรุ่นจึงขาดความคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมของภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและกาลเทศะ เช่น การพูดกับผู้ใหญ่ พูดในที่สาธารณะที่มิใช่เฉพาะกลุ่มของตน หรือการพูดติดต่อที่เป็นทางการ ควรใช้ถ้อยคำที่ไพเราะและใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้มีพัฒนาการทางภาษาที่ดีในอนาคต
การใช้ภาษาไทยที่ผิดๆ ของวัยรุ่นเป็นสิ่งที่จะทำให้ภาษาไทยวิบัติลง ซึ่งจะเห็นได้จากที่วัยรุ่นใช้สื่อสารทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คำว่า “ทามอะไรอยู่ (ทำอะไรอยู่) เปนอะไร (เป็นอะไร)” เพราะคำเหล่านี้ทำให้พิมพ์ง่าย สื่อสารกันได้เร็ว แต่ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทยหนึ่งคำสามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมีพยัญชนะที่ออกเสียงเหมือนๆ กัน มีสระที่เสียงคล้ายๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไปจากเดิม ทำให้ความเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทยที่มีความซับซ้อนและทำให้วัยรุ่นนิยมใช้ภาษาไทยที่มีความหมายละเอียดและกว้างจากความหมายเดิมมีมากขึ้น
ภาษาไทยจึงถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศไทย ถึงแม้จะเป็นไปตามกระแส
ทางวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต แต่การช่วยกันอนุรักษ์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องจะช่วยให้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติกลับมาคงความสวยงามและมีความหมายอย่างถูกต้องเหมือนในอดีต และขอทิ้งท้ายคำขวัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ดังนี้
ภาษาไทยกับวัยรุ่นในปัจจุบันทางวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต แต่การช่วยกันอนุรักษ์ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องจะช่วยให้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติกลับมาคงความสวยงามและมีความหมายอย่างถูกต้องเหมือนในอดีต และขอทิ้งท้ายคำขวัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภาษาไทยไว้ดังนี้
พูดไทยไม่ค่อยชัด...แต่ภาษาอังกฤษ...ไม่ได้เลย” เป็นมุขตลกที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ประโยคดังกล่าวไม่ได้เป็นแค่มุขตลกขำ ๆ อีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนมากที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ “พูดภาษาไทยก็ไม่ค่อยชัดอยู่แล้ว แต่ภาษาอังกฤษก็ไม่ดีเช่นกัน” หรืออาจกล่าวได้ว่ากำลังมีอาการของโรคสมมุติที่เรียกว่า “โรคภูมิคุ้มกันภาษาไทยบกพร่อง” โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ซึ่งอาการที่พบมากที่สุดก็คือ โรค ร ล ลักปิดลักเปิด ซึ่งมักออกเสียง ร ไม่ได้ หรือออกเสียงเป็นเสียง R ในภาษาอังกฤษ โรค ส ซ อักเสบ โดยมักมีเสียงพ่นหน้าคำมากเกินไปจนคล้ายกับเสียง S ของภาษาอังกฤษและโรควรรณยุกต์เคลื่อนเรื้อรัง ซึ่งเป็นการออกเสียงวรรณยุกต์เคลื่อนที่ไปจากระดับเสียงหนึ่ง เช่น แม่ เป็น แม้ ผีเสื้อ เป็น ผี่เสื้อ เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพูดและเขียนภาษาไทยของวัยรุ่นก็คือ สื่อมวลชนนั่นเอง โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเตอร์เน็ต กล่าวคือ เด็กวัยรุ่นมักจะเลียนแบบการออกเสียงการพูดของดารา ศิลปินนักร้อง รวมทั้งพิธีกรรายการ ตลอดจนดีเจที่ตนเองชื่นชอบ เพราะคิดว่าเป็นความเท่ห์ มีเสน่ห์ โดยมักพูดไทยสำเนียงฝรั่ง ใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียน หรือพูดไทยคำ อังกฤษคำ เป็นต้น ส่วนด้านการเขียนนั้น พบว่า เด็กไทยเขียนภาษาไทยกันไม่ค่อยถูกต้อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความเคยชินกับภาษาเขียนที่ใช้ในการเขียนกลอนวัยรุ่น การส่งข้อความผ่านมือถือ และการเขียนในอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะจากการแช็ต ที่จะเน้นเขียนคำให้สั้นที่สุด เช่น “555” แทนเสียงหัวเราะ “เดว” แทนคำว่า “เดี๋ยว” “ไปเดก่า” แทนคำว่า “ไปดีกว่า” คำว่า “ไม่เป็นไร” ก็เขียนเป็น “ม่ายเปนราย” งุงิ คริคริ แทนความรู้สึกบางอย่าง สาด-กรู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้สัญลักษณ์หรือไอคอนที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ร้องไห้ หัวเราะ ยิ้ม แทนภาษาเขียนอีกด้วย ซึ่งแม้จะมีบางท่านที่มองว่าการใช้ภาษาในลักษณะนี้เป็นวิวัฒนาทางการภาษาเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่น แต่ภาษาแช็ตไม่มีไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้บ่อย ๆ จะทำให้เด็กเคยชินและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ แม้แต่ในการทำการบ้านฃหรือการทำข้อสอบก็ตาม จึงน่าหวั่นเกรงว่าภาษาไทยจะเสียหายจนถึงขั้นวิกฤติได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันที่พบว่า ในระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาไทยน้อยที่สุด และปัญหาที่พบคือ การพูดไม่ชัด ใช้คำไม่ถูกต้อง และพูดวกวน ส่วนการเขียน มักใช้คำผิดความหมาย การอ่านนั้นส่วนใหญ่ออกเสียงไม่ถูก และจับใจความไม่ได้ และจากการสำรวจเมื่อปลายปีที่แล้ว พบว่า เด็กไทยชั้นป.3 อ่านหนังสือไม่ออก-เขียนไม่ได้ ราว7-8 หมื่นคน เหล่านี้เป็นข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน การเปลี่ยนแปลงทางภาษาของวัยรุ่นไทยดังกล่าวนั้น ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งผิด แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า ศัพท์แสลงหรือคำเฉพาะกลุ่มต่าง ๆ นั้น หากนำไปใช้เพื่อสื่อสารกันเองภายในกลุ่มเล็ก ๆ ก็คงไม่เสียหายเท่าใดนัก แต่หากอยู่ในที่สาธารณะหรือใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการ การพูดคุยกับผู้ใหญ่ หรือในการเรียนนั้น ก็ควรจะต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งในการพูด อ่านและเขียน อย่างไรก็ตาม การจะให้เด็กใช้ภาษาไทยอย่างสุภาพและถูกต้องนั้น ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ และบุคคลสาธารณะต่าง ๆ ควรจะสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วย มิเช่นนั้นจะโทษว่าเด็กยุคใหม่ทำให้ “ภาษาไทยวิบัติ” ก็คงจะไม่ได้